Life is like a Journey General ข้อปฏิบัติในการนำเข้าสารเคมี

ข้อปฏิบัติในการนำเข้าสารเคมี



สารเคมีเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมและอาหาร เป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นสังเคราะห์ขึ้นมาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มนุษย์นั้นสามารถนำสารเคมีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ แต่ด้วยสารเคมีนั้นมีข้อจำกัดทั้งการผลิต การจัดเก็บ รวมไปถึงวิธีการขนส่งที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องให้ความใส่ใจทั้งสามเรื่องนี้ จึงอาจจะไม่เหมาะสมกับการที่เราจะสามารถผลิตสารเคมีนั้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้เองอย่างโดยตรง เพราะฉะนั้นการนำเข้าสารเคมีจึงเป็นการลดความจำเป็นในปัจจัยสองข้อแรกออกไปได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว  

การนำเข้าสารเคมีต้องดูอะไรบ้าง 

การนำเข้าสารเคมีเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านธุรกิจนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การนำเข้าสารเคมีภายในประเทศและการนำเข้าสารเคมีนอกประเทศ  

การนำเข้าสารเคมีในประเทศต้องดูอะไรบ้าง 

สิ่งที่สำคัญในการนำเข้าสารเคมีในประเทศนั้นคือเราจะต้องดูใบการทดสอบคุณสมบัติของสารเคมีชนิดนั้นก่อนเป็นอันดับแรก หรือที่เรารู้จักกันว่าใบ Properties Certificate เพื่อดูว่าสารเคมีตัวนี้ภายใต้สภาวะในการทดสอบต่าง ๆ กันในหลาย ๆ เงื่อนไขนั้นสามารถผ่านค่ามาตรฐานตามที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยค่ามาตรฐานนี้ส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดมาจากตัวของลูกค้า ในส่วนของผู้ผลิตสารเคมีนั้นจะต้องทำสอบสารเคมีดังกล่าวเพื่อให้คุณสมบัติที่ได้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ลูกค้ากำหนดไว้นั่นเอง ในส่วนต่อมาเราจะต้องมาขอใบ MSDS (Material Safety Data Sheet) ของสารเคมี ซึ่งต้องระบุถึงอันตรายต่าง ๆ และวิธีการแก้ไขหากเกิดอันตรายเกิดขึ้น 

การนำเข้าสารเคมีต่างประเทศต้องดูอะไรบ้าง 

การนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศนั้น ถ้าสารเคมีนั้นมีความอันตรายเราจะต้องแจ้งหน่วยงานราชกาลเพื่อขออนุญาตการใช้งานสารเคมีตัวนั้น ๆ จึงจะสามารถผ่านด่านกรมศุลกากรได้ โดยเราสามารถตรวจสอบว่าสารเคมีตัวนั้นมีความเป็นอันตราย เราสามารถเช็คได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานควบคุมวัตถุอันตรายได้ตลอดเวลาเพื่อเป็นการให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้รับรู้และได้มีข้อกำหนดและมาตรการต่าง ๆ ต่อไป  

สารประกอบชนิดนั้น ๆ จำเป็นจะต้องมีเลข CAS No. ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถบอกลักษณะเฉพาะของสารประกอบตัวนั้น ๆ ได้ตามหลักสากล ทั้งนี้เลข CAS No. เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของคนในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกและเป็นตัวเลขที่สามารถบอกถึงสารชนิดนั้น ๆ ได้อย่างเจาะจง เช่น ต่างประเทศใช้สารเคมีที่มีชื่อว่า Sulfur แต่คนไทยเรียก กำมะถัน ซึ่งการป้องกันและสื่อสารข้อมูลให้ตรงกันจึงได้มีการจัดตั้งชุดตัวเลขสากลขึ้น โดยกำมะถันจะมีเลข CAS No. 7704-34-9 เป็นต้น  

เหตุผลที่ได้มีขั้นตอนที่มากมายเช่นนี้เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน เพื่อที่มีการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ